@>การทำค้างแบบต่างๆ
![]() ![]() |
การทำค้าง ค้าง คือเสาปูนหรือเสาไม้ เพื่อให้ถั่วดาวอินคาเลื้อยพัน เนื่องจากถั่วดาวอินคามีอายุที่ยาว การทำค้างสำหรับถั่วดาวอินคาจึงจำเป็นต้องทำให้ได้มาตรฐาน แข็งแกร่ง ทนทาน และลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน คำถามที่พบมากคือ สามารถใช้ไม้ได้ไหม คำตอบคือสามารถใช้ได้ แต่ระยะเวลาอาจจะไม่นาน และต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนเรื่อยๆ ในการเปลี่ยนแต่ละครั้งจะมีความยุ่งยากพอสมควร และอาจมีผลกระทบต่อต้นถั่วดาวอินคา ถ้าจะให้คงทนถาวร ควรใช้เสาปูนมาตรฐานในการทำค้าง สูง 2.50 เมตรขึ้นไป ปักลงดินลึก 50 ซม. ปักระยะ 2 - 4 เมตร / ต้น ใช้ลวดเบอร์ 14 หรือสายโทรศํพท์ (ใช้สายโทรศัพท์จะถูกกว่า และดีกว่า เพราะไม่ร้อน ยอดถั่วไม่ตาย) ขึงตามแบบค้างที่เลือก |
![]() ![]() |
ค้างแบบต่างๆ |
รูปแบบค้าง ขึ้นอยู๋กับเกษตรกรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับเงินลงทุน พื้นที่ปลูก ลักษณะพื้นที่ ที่ราบ ที่ราบเชิงเชา เชิงเขา |
1. ค้างแบบเสาคู่ |
![]() |
ค้างแบบเสาคู่ ให้ผลผลิตที่สูง และเก็บผลผลิตง่าย การจัดการต่างๆ สะดวกสบาย ค้างมีความสมดุล ไม่หนักข้างใด ข้างหนึ่ง จนทำให้เสาล้ม แต่ทิศทางแถวในการปลูก ควรอยู่ในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก เพราแสงจะได้ส่องทั่วถึง |
2. ค้างแบบตัว A |
![]() |
ค้างแบบตัว A ค้างแบบนี้ทำง่าย ลงทุนไม่มาก ให้ผลผลิตที่ดีในช่วงแรกๆ แต่พอนานๆ ไป การจัดการเรื่องการตัดแต่ง เก็บผลผลิตยากลำบาก เนื่องจากต้นถั่วดาวอินคาที่ใหญ่ เถาพันกันมากขึ้น |
3. ค้างแบบกระโจม |
![]() |
ค้างแบบกระโจม ค้างแบบนี้คล้ายคลึงกับ แบบตัว A คือ ให้ผลดีในช่วงแรกๆ แต่พอนานๆ ไป การจัดการเรื่องการตัดแต่ง เก็บผลผลิตยากลำบาก เนื่องจากต้นถั่วดาวอินคาที่ใหญ่ เถาพันจะยาวขึ้นไปรวมกันที่ด้านบน |
4. ค้างแบบตัว H |
![]() |
ค้างแบบตัว H ค้างแบบนี้มักพบในแปลงเพาะปลูกที่มีการลงทุนสูง การจัดการดี วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเสาปูน หรือโลหะ สามารถใช้ได้นาน ข้อดีคือเก็บผลผลิตได้มาก และเก็บได้นาน |
5. ค้างแบบตัว T |
![]() |
ค้างถั่วแบบตัว T เหมาะสำหรับพื้นที่เชิงเขา ไม่ราบเรียบ แต่สามารถประยุกกต์ใช้กับพื้นที่ราบได้เช่นกัน ข้อดีคือ สามารถจัดการได้ง่าย สะดวกในการเก็บผลผลิต ต้องตัดแต่งโคนต้นด้านล่างให้โล่ง และอาจเพิ่มจำนวนเส้นลวดบนเสาได้ |
6. ค้างแบบเสารั้ว |
![]() |
ค้างแบบเสารั้ว พบง่ายได้ทั่วไป และพบมากที่สุด เพราะทำง่าย ให้ผลผลิตที่ดี แต่เมื่อผ่านไป 2 - 3 ปี จะมีปัญหาเรื่องเถาถั่วดาวอินคาที่ยาว ต้องตัดแต่งบ่อยๆ และอาจจะแปลงกลายเป็นแบบหมากฮอตในที่สุด |
7. ค้างแบบตารางหมากฮอต |
![]() |
ค้างแบบตารางหมากฮอต ค้างแบบนี้เป็นแบบสุดท้าย ในทุกๆ แบบ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ต้นถั่วดาวอินคาจะมีขนาดใหญ่ เถาถั่วจะเยอะมาก ยาวพันกันไปทั่ว สานกันจนกลายเป็นหลังคาทึบ การตัดแต่งกิ่งจะยากลำบาก ค้างแบบนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผล หรือเล็กลีบออก เพืื่อให้โปร่ง แสงแดดส่องถึงป้องกันการเกิดเชื้อรา |
ศูนย์บริการถั่วดาวอินคา สวนบ้านหมอ UMB FARM Sacha Inchi พืชอินทรีย์ แบบค้างถั่วดาวอินคา โอเมก้าบนดิน เกษตรอินทรีย์